เราต้องการให้มั่นใจว่าการบริหารจัดการของเสียของกลุ่มบริษัทฯ มีแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูลของเสียให้ครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่าและพนักงานทุกคนจะได้รับการสื่อสารเป้าหมายเพื่อร่วมกันปรับปรุงกระบวนการทำงานให้สามารถลดปริมาณการเกิดของเสียที่ไม่ใช้แล้วลงได้ ตารางข้างล่างแสดงปริมาณและวิธีการจัดการของเสียที่เกิดในห่วงโซ่คุณค่า
การจัดการของเสีย
Menu
การจัดการของเสีย
เราใช้หลักการบริหารจัดการตามลำดับขั้น (Mitigation Hierarchy) มาใช้ในการลดปริมาณของเสียที่ต้องกำจัด รวมถึงการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น
GRI 306-1, GRI 306-2, GRI 306-4 and GRI 306-5
ISO 26000 and ISO 14064
แนวทางการดำเนินงาน
ขณะที่ปริมาณกิจกรรมทางธุรกิจของเราเพิ่มมากขึ้น กลุ่มบริษัทฯ ต้องนำระบบ และวิธีการต่างๆ มาใช้ในการบริการจัดการน้ำทิ้งและของเสียอย่างเหมาะสมในทุกขั้นตอน อันดับแรก ทุกกิจกรรมที่มีอยู่ รวมถึงกิจกรรมใหม่ ต้องมีการประเมินผลกระทบภายใต้มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14001 จากนั้นมีการให้ความรู้เพื่อการระบุและกำจัดของเสียที่มาจากกิจกรรมต่างๆ โดยโครงการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม ที่เราดำเนินการอยู่ มีส่วนช่วยในการลดปริมาณของเสีย การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ นอกจากนี้ ภายใต้หลักการ mitigation hierarchy เราดำเนินนโยบายลดปริมาณของเสียส่งกำจัดฝังกลบเป็นศูนย์ ผ่านการใช้ซ้ำและการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนกการผลิต
นโยบาย : นโยบายสิ่งแวดล้อม
ผู้มีส่วนได้เสีย :
ผู้ใช้ถนน ชุมชน คู่ค้าธุรกิจ คณะกรรมการบริษัท และ พนักงาน
เป้าหมายระยะสั้น :
- ปริมาณของเสียส่งกำจัดโดยวิธีการฝังกลบเป็นศูนย์
- ปริมาณวัสดุของเสียไม่น้อยกว่า 85% ต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้
- การหกรั่วไหลของผลิตภัณฑ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างกระบวนการจัดส่งเป็นศูนย์
เป้าหมายระยะยาว :
- ปริมาณสินค้าหกรั่วไหลขณะส่งมอบเป็นศูนย์
- ปริมาณของเสียอุตสาหกรรมส่งกำจัดโดยการฝังกลบเป็นศูนย์
- ปริมาณวัสดุของเสียไม่น้อยกว่า 90% ต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้
2022 Key Performances :
- ปริมาณของเสียอุตสาหกรรมส่งกำจัดโดยการฝังกลบเป็นศูนย์
- ปริมาณวัสดุของเสียไม่น้อยกว่า 89.7% ต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ (ภายใต้หลักการ mitigation Hierarchy)
- ไม่มีการหกรั่วไหลของวัตถุดิบ สารเคมี หรือผลิตภัณฑ์อย่างมีนัยสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือชุมชน