Skip to content

การบริหารจัดการด้านภาษี

ตามกฏหมายทางภาษีที่มีการบังคับใช้ กลุ่มบริษัทได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนผู้ที่เกี่ยวข้องโดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมประโยชน์ต่อทั้งกลุ่มบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

201 -1 and 207-3
ISO 26000

แนวทางการดำเนินงาน

กฏหมายภาษีจะได้รับการปรับปรุงแก้ไขสม่ำเสมอเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ ดังนั้น เราจะคอยติดตามการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อย่างใกล้ชิด รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆที่กลุ่มบริษัทฯอาจได้รับประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของโอกาสในการลงทุน ประโยชน์ต่อพนักงาน และเสถียรภาพด้านการเงิน นโยบายทางบัญชีของเราและระบบงานมีความทันสมัยและไม่ขัดต่อกฏหมาย โดยการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอกับกรมสรรพากร ที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ตรวจสอบภายนอก

นโยบาย : นโยบายทางภาษี

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง :

นักลงทุน หน่วยงานกำกับดูแล คณะกรรมการบริษัท และ พนักงาน

เป้าหมายระยะสั้น :

  1. ปฏิบัติตามกฏหมายข้อบังคับทางภาษี รวมถึงการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
  2. จัดให้มีการแบ่งปันความรู้แก่พนักงานเรื่องกฏหมายภาษีและทบทวนคู่มือภาษี

เป้าหมายระยะยาว :

  1. ปรับเปลี่ยนระบบบริหารจัดการภาษีให้เป็นระบบดิจิทัล

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ :

  • เปลี่ยนระบบการจัดการภาษีเป็นระบบดิจิตัลทั้งหมด
  • สื่อสาร นโยบายภาษีนิติบุคคล ไปยังพนักงานของกลุ่มบริษัทฯ

การปฏิบัติตามแนวทางด้านภาษีที่เกี่ยวข้องของกลุ่มบริษัททิปโก้แอสฟัลท์

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของกลุ่มบริษัททิปโก้อยู่ในช่วงระหว่าง 17% – 25% โดยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของประเทศไทยอยู่ที่ 20% ซึ่งในปี 2565 กลุ่มบริษัทมีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 23% ตามงบการเงินรวม และ 16% ตามงบการเงินเฉพาะกิจการ

รายการ 2563 2564 2565
งบการเงิม
รวม
งบการเงิน
เฉพาะกิจการ
งบการเงิม
รวม
งบการเงิน
เฉพาะกิจการ
งบการเงิม
รวม
งบการเงิน
เฉพาะกิจการ
รายได้จากการขายและบริการ 22,943.39 22,943.39 24,447.11 21,429.75 30,024.76 25,944.95
รายได้จากสัญญาก่อสร้าง - - 2,605.66 - 3,375.78 4,354.84
กำไรก่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 4,354.84 3,025.87 3,005.37 1,869.15 3,120.26 3,306.55
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 20%
(ประเทศไทย)
(870.97) (605.17) (601.07) (373.83) (624.05) (661.31)
ภาษีเงินได้ที่จ่ายจริง
(หลังหักลดหย่อนตามกฎหมาย)
(786.31) (556.18) (419.38) (260.05) (727.68) (531.75)
อัตราภาษีที่แท้จริง 18% 18% 14% 14% 23% 16%

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

คำอธิบายความแตกต่างของภาษีเงินได้นิติบุคคลและอัตราภาษีที่แท้จริง

กลุ่มบริษัทมีการดำเนินการด้านภาษีเพื่อให้มั่นใจว่าปฏิบัติตามกฏหมายที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง โดยในปี 2565 กลุ่มบริษัทมีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 23% ในขณะที่อัตราภาษีเงินได้ของกลุ่มบริษัทอยู่ที่ 17% – 25% ทั้งนี้เป็นผลมาจากกลุ่มบริษัทได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีในด้านต่างๆ  อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นบางรายการไม่สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีอากรได้ ซึ่งเกิดขึ้นจากวิธีการบันทึกทางบัญชีมีความแตกต่างกับทางด้านภาษีอากร

รายการผลแตกต่างระหว่างภาษีเงินได้นิติบุคคลประเทศไทย (20%) และอัตราภาษีที่แท้จริงแสดงรายละเอียดได้ดังนี้

รายการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี
จำนวนเงิน (พันบาท)
สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน ¹/
6,579
สิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับธุรกิจขนส่งทางทะเล ²/
20,280
สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับศูนย์ธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) ³/
2,822
รายการที่ไม่นำมารวมคำนวณเป็นรายได้/ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้
จำนวนเงิน (พันบาท)
ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้าและบริษัทร่วม
13,985
ค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์
(39,988)
ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
(24,048)
ค่าเสื่อมราคาที่ใช้ประโยชน์ทางภาษีไปแล้วในอดีต
(40,921)
รายการอื่นๆ
(42,340)
รวมผลแตกต่างระหว่างภาษีเงินได้นิติบุคคลประเทศไทย (20%) และอัตราภาษีที่แท้จริง
(103,631)

หมายเหตุ:

¹/ บริษัทย่อยได้รับสิทธิพิเศษทางส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ด้านระบบขนส่งมวลชนและการขนส่งสินค้าเทกอง สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สำคัญคือได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่เกิน 8 ปี นับตั้งแต่วันที่แสดงดังนี้

  1. บริษัท อัลฟ่า มาริไทม์ จำกัด วันที่เริ่มต้น 9 ตุลาคม 2557
  2. บริษัท บิทูเมนมารีน จำกัด วันที่เริ่มต้น 29 ตุลาคม 2558

²/ บริษัทย่อยในประเทศไทยที่ทำธุรกิจเรือขนส่งและขนถ่ายสินค้าได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรายได้จากการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 72

³/ บริษัทฯ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ โดยประกอบกิจการให้บริการด้านบริหาร ให้บริการด้านเทคนิค ให้บริการสนับสนุน การเป็นบริษัทการค้าระหว่างประเทศ สิทธิประโยชน์คือการได้สิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจกรรมศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศเป็นระยะเวลา 15 รอบระยะเวลาบัญชี นับจากวันที่ 1 มิถุนายน 2562 ถึง 31 ธันวาคม 2576