สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เข้าเยี่ยมชมโรงงานสุราษฎร์ธานี กลุ่มบริษัททิปโก้แอสฟัลท์ฯ

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เข้าเยี่ยมชมโรงงานสุราษฎร์ธานี กลุ่มบริษัททิปโก้แอสฟัลท์ฯ

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2568 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำโดยนายเฉลิมรัฐ เตชะเกษม หัวหน้ากลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์การขนส่งและจราจรในภูมิภาค พร้อมด้วยคณะผู้บริหารจำนวน 32 ท่าน เข้าเยี่ยมชมโรงงานสุราษฎร์ธานีกลุ่มบริษัททิปโก้แอสฟัลท์ฯ

ในการเยี่ยมชมครั้งนี้ คณะฯ ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากนายสรนารถ นันทมนตรี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่-สายธุรกิจประเทศไทย นายสุรพล เกตุแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค และนายสุพัฒน์ พิพิธวรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ โดยภายในโรงงานได้มีการนำเสนอข้อมูลกระบวนการจัดการแบบครบวงจร ตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบ การตรวจสอบคุณภาพการผลิตและการจัดส่งผลิตภัณฑ์ยางมะตอยสู่พื้นที่ภาคใต้

การเยี่ยมชมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะผู้บริหารจาก สนข. ได้เห็นถึงศักยภาพและความพร้อมของโรงงานในการรองรับความต้องการวัสดุสำหรับโครงการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor – SEC)

ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน และการส่งเสริมอุตสาหกรรมในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษให้มีความสามารถในการแข่งขันในระดับภูมิภาคต่อไป

บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ TASCO ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน 100 บริษัทจดทะเบียนที่มีความโดดเด่นด้านการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ ESG100 ประจำปี 2568

ESG100 ประจำปี 2568

บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ TASCO ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน 100 บริษัทจดทะเบียนที่มีความโดดเด่นด้านการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ ESG100 ประจำปี 2568

บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ TASCO ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งใน 100 บริษัทจดทะเบียนที่มีความโดดเด่นด้านการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ ESG100 ประจำปี 2568 สถาบันไทยพัฒน์ จากการคัดเลือกบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด 921 แห่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนที่โดยก่อให้เกิดความสมดุลทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล​

ธุรกิจก่อสร้างส่งเสริมความสัมพันธ์ชุมชน มอบวัสดุแอสฟัลต์คอนกรีตจำนวน 60 ตัน ซ่อมแซมถนนหน้าอำเภอวังน้อย

มอบวัสดุแอสฟัลต์คอนกรีตจำนวน 60 ตัน

ธุรกิจก่อสร้างส่งเสริมความสัมพันธ์ชุมชน มอบวัสดุแอสฟัลต์คอนกรีตจำนวน 60 ตัน ซ่อมแซมถนนหน้าอำเภอวังน้อย

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2568 ธุรกิจก่อสร้าง ได้บริจาควัสดุแอสฟัลต์คอนกรีตจำนวน 60 ตัน พร้อมทั้งร่วมสนับสนุนการซ่อมแซมผิวถนนบริเวณด้านหน้าที่ว่าการอำเภอวังน้อย รวมพื้นที่กว่า 844 ตารางเมตร โดยมีคุณยุทธพล สิ่วไธสง ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการก่อสร้าง และคุณครรชิต เผือกพูนผล ผู้จัดการฝ่ายผลิตแอสฟัลต์คอนกรีต ส่งมอบให้กับคุณอธิพงษ์ มณีแก้ว นายอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การดำเนินงานในครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของธุรกิจก่อสร้างในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มบริษัทฯ กับชุมชนในพื้นที่ และตอกย้ำภาพลักษณ์ขององค์กรที่ให้ความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังมีส่วนช่วยยกระดับความปลอดภัยในการสัญจรของประชาชนที่มาติดต่อราชการ ณ ที่ว่าการอำเภอวังน้อยอีกด้วย

ยางมะตอยถุง ดีอย่างไร

ยางมะตอยผสมสำเร็จ

ยางมะตอยถุง

ยางมะตอยถุง หรือ ยางมะตอยสำเร็จพร้อมใช้งาน ประกอบด้วยยางมะตอยน้ำคุณภาพสูง ผสมกับวัสดุมวลรวมที่คัดสรรขนาดเป็นอย่างดีตามมาตรฐานอุตสาหกรรม ทิปโก้พรีมิกซ์ ใช้สำหรับซ่อมหลุม หรือปิดผิวทางเดิน ซ่อมแซมพื้นผิวถนนแบบชั่วคราวทั้งถนนแอสฟัลต์คอนกรีต (Asphalt Concrete) และถนนคอนกรีตตามลักษณะพื้นที่ต่างๆ เช่น ถนน ทางเท้า ทางเดิน ขอบถนน ทางด่วน ที่จอดรถ ถนนที่อยู่อาศัย และทางลาดแบบชั่วคราว

ทิปโก้พรีมิกซ์ 1 ถุง ประกอบด้วย หินกรวดคละขนาดผสมกับแอสฟัลต์อิมัลชันซึ่งเพียงพอสำหรับงานซ่อมหลุมบ่อขนาด 0.25 ตร.ม. และมีความลึก 5 ซม. (หรือ 4 ถุงสำหรับเติมหลุมขนาด 1 ตร.ม.ที่ความลึก 5 ซม.)

ยางมะตอยถุง ดีอย่างไร

ข้อดี และประโยชน์

  1. เหนียวแน่น ทนทาน ไม่หลุดร่อน
  2. ได้มาตรฐาน มอก. 2916-2561 เกรด 4
  3. ไม่ต้องใช้ความร้อน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  4. ใช้อุปกรณ์ง่ายๆ เช่น จอบ เสียม
  5. ทำได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องใช้เครื่องจักร

วิธีใช้งานยางมะตอยถุง

  1. ทำความสะอาดพื้นผิวให้สะอาด
  2. ปรับระดับพื้น หรือตกแต่งหลุมที่จะซ่อมให้มีขอบ
  3. เทยางมะตอยทิปโก้พรีมิกซ์ ลงในพื้นที่ที่จะปรับระดับ หรือซ่อมหลุม
  4. ใช้จอบ พลั่ว บดอัดให้แน่น

วิธีการเก็บรักษา

  • กรณีที่ใช้สินค้าไม่หมด ปิดปากถุงให้สนิท และเก็บไว้ภายในอาคารที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก สามารถเก็บไว้ใช้งานได้นานถึง 3 เดือน
  • ข้อแนะนำการกำจัดภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ ควรนำเศษวัสดุออกจากภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ให้หมด ก่อนส่งทำลายภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ในระบบกำจัดขยะตามข้อบังคับท้องถิ่น

คำแนะนำด้านความปลอดภัย

  • หากสัมผัสผิวหนัง ล้างออกด้วยสบู่และน้ำปริมาณมาก
  • หากเข้าตา ล้างด้วยน้ำ และหากมีคอนแทคเลนส์ให้ถอดแก และเปิดเปลือกตาให้กว้าง ให้น้ำไหลผ่านอย่างน้อย 15 นาที และนำส่งแพทย์ทันที

ยางมะตอยน้ำ หรือ แอสฟัลต์อิมัลชัน

ยางมะตอยน้ำ ป้องกันการซึมผ่านของน้ำบนผิวทาง

ยางมะตอยน้ำ หรือ แอสฟัลต์อิมัลชัน

ยางมะตอยน้ำ คือ ยางมะตอยเหลวที่มีส่วนผสมหลักสามชนิด คือ ยางมะตอย น้ำ และอิมัลซิไฟเออร์ (emulsifier) โดยส่วนประกอบเหล่านี้ถูกนำมาผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าคอลลอยด์มิลล์ (colloid mill) ซึ่งจะเฉือนยางมะตอยให้เป็นอนุภาคขนาดเล็ก อิมัลซิไฟเออร์ซึ่งเป็นสารปรับสภาพผิวของยางมะตอย ช่วยให้อนุภาคของยางมะตอยลอยตัวอยู่ในน้ำรวมกันแบบแขวนลอยที่มีเสถียรภาพและใช้ควบคุมระยะเวลาการแยกตัวของยางมะตอยน้ำ เมื่อนำไปใช้งาน น้ำที่ผสมอยู่ในแอสฟัลต์อิมัลชันจะระเหยและปล่อยให้ยางมะตอยก่อตัวเป็นฟิล์มบาง ๆ ปิดผิวมวลรวมหรือพื้นผิวถนนอย่างต่อเนื่อง

คุณสมบัติหลัก ของยางมะตอยในแอสฟัลต์อิมัลชัน คือ ช่วยการยึดเกาะและเพิ่มคุณสมบัติป้องกันการซึมผ่านของน้ำบนผิวทาง ซึ่งสามารถใช้ทำงานในอุณภูมิปกติสำหรับการก่อสร้าง และบำรุงรักษาถนนโดยจะผสมกับวัสดุมวลรวมหรือไม่ก็ได้

EAP Prime Coat

ประเภทของยางมะตอยน้ำ

  1. แยกตัวเร็ว
    • CRS-1 ใช้สำหรับงานแทคโคท (Tack Coat)
    • CRS-2 ใช้สำหรับงานเซอร์เฟสทรีตเมนต์ชั้นเดียว (Single Surface Treatment) ผิวทางชั้นแรกของเคพซีล (Cape Seal) เซอร์เฟสทรีตเมนต์สองชั้น (Double Surface Treatment) และงานแทคโคท (Tack Coat)
  2. แยกตัวเร็วปานกลาง
    • CMS-2 และ CMS-2h ใช้ทำยางมะตอยผสมสำเร็จ งานปะซ่อมผิวทางยางมะตอย Cold Mix หรือวัสดุผสมเย็น
  3. แยกตัวช้า
    • CSS-1 ใช้สำหรับงานไพรม์โคท (Prime Coat)
    • CSS-1h ใช้สำหรับงานสเลอรี่ซีล (Slurry Seal) งานผิวชั้นที่สองของเคพซีล (Cape Seal) ฟ๊อกสเปรย์ (Fox Spray) ไพรม์โคท (Prime Coat) และงานปรับปรุงคุณภาพชั้นทาง
    • EAP ใช้สำหรับงานไพรม์โคท (Prime Coat) ตามมาตรฐาน ทล.-ก. 410/2557

คำแนะนำด้านความปลอดภัย

  • หลีกเลี่ยงการสูบถ่ายผ่านปั๊มที่มีแรงดันสูง
  • หลีกเลี่ยงการกวนอย่างรุนแรง
  • หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนจากน้ำมันหรือสารเคมี ไม่ควรจัดเก็บในภาชนะที่มีสารต่างชนิดกัน
  • ถังบรรจุผลิตภัณฑ์ต้องแห้ง และสะอาด ไม่ปนเปื้อนน้ำมันหรือน้ำ เพราะอาจทำให้คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เปลี่ยนไป
  • ควรจัดเก็บผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดแยกถังออกจากกัน โดยมีชื่อและชนิด กำกับไว้อย่างชัดเจน
  • ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม (รวมถึงถุงมือและหน้ากากกันกระเด็น)

ทิปโก้แอสฟัลท์ ร่วมกับ จุฬาฯ จัดค่ายจิตอาสานิสิตภาควิชาวิศวกรรมโยธา ครั้งที่ 6

ทิปโก้แอสฟัลท์ ร่วมกับ จุฬาฯ จัดค่ายจิตอาสานิสิตภาควิชาวิศวกรรมโยธา ครั้งที่ 6

กลุ่มบริษัททิปโก้แอสฟัลท์ ร่วมกับ หจก.สินพัฒนกาญจน์ และนิสิตภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรม ค่ายจิตอาสานิสิตภาควิชาวิศวกรรมโยธา ครั้งที่ 6 ณ ค่ายฝึกสำรวจ อำเภอลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี ระว่างวันที่ 21-23 มีนาคม 2568 โดยมีนิสิตเข้าร่วมกว่า 120 คน นำโดย ผศ.ดร.พงษ์สันธ์ บัณฑิตสกุลชัย รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธาฝ่ายกิจการนิสิต ซึ่งเป็นตัวแทนรับมอบวัสดุยางมะตอยและน้ำดื่มออรา จากกลุ่มบริษัททิปโก้แอสฟัลท์

กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้กรอบความร่วมมือ MoU เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชุมชนและสังคม โดยได้รับการสนับสนุนจาก หจก.สินพัฒนกาญจน์ ในการจัดหาเครื่องจักรสำหรับงานปรับปรุงถนนภายในค่ายฝึกสำรวจ ด้วยเทคนิค Single Surface Treatment นิสิตได้ลงมือปูพื้นผิวถนนด้วยตนเอง ภายใต้คำแนะนำจากทีมบริการเทคนิคของทิปโก้แอสฟัลท์ ซึ่งนอกจากจะเป็นประสบการณ์ที่สนุกสนานแล้ว ยังช่วยให้นิสิตได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำงานจริงจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

การเข้าร่วมค่ายจิตอาสาครั้งนี้ไม่เพียงแต่ช่วยพัฒนาทักษะทางวิศวกรรมโยธาผ่านการลงมือปฏิบัติจริง แต่ยังเป็นโอกาสให้นิสิตได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ตอกย้ำแนวคิดในการส่งต่อองค์ความรู้และความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านงานวิศวกรรม

นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. เยี่ยมชมโครงการรันเวย์ที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. เยี่ยมชมโครงการรันเวย์ที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

กลุ่มบริษัททิปโก้แอสฟัลท์ โดย คุณศักดิ์ชัย ทองสุข ผู้จัดการอาวุโส ส่วนงานก่อสร้าง ให้การต้อนรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นำโดย ผศ.ดร.ภาณุมาศ ไทรงาม ในโอกาสเยี่ยมชมกระบวนการปูพื้นผิวทางขับ (Taxiway) ในส่วนเชื่อมต่อ ของโครงการทางวิ่งที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

กิจกรรมนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของกลุ่มบริษัททิปโก้แอสฟัลท์ในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านยางมะตอย และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ต่อยอดความรู้จากห้องเรียนสู่ภาคสนาม นักศึกษาได้ศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการทำงานและการผลิตยางมะตอยคอนกรีตประสิทธิภาพสูง ซึ่งเป็นองค์ความรู้สำคัญที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานในอนาคต

การแบ่งปันองค์ความรู้ถือเป็นหัวใจสำคัญของกลุ่มบริษัททิปโก้แอสฟัลท์ ซึ่งมุ่งมั่นพัฒนาบุคลากรและผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง พร้อมมีส่วนร่วมในการยกระดับอุตสาหกรรมยางมะตอย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างมั่นคงและยั่งยืน

โครงการ Slurry Seal ล่าสุดในประเทศลาว

โครงการ Slurry Seal ล่าสุดในประเทศลาว

บริษัท ทิปโก้ แอสฟัลท์ ลาว จำกัด ร่วมกับ บริษัท แสงอุดม จำกัด และด้วยการสนับสนุนทางเทคนิคจาก บริษัท ถนอมวงศ์บริการ จำกัด มีความภูมิใจที่จะนำเสนอโครงการ Slurry Seal ล่าสุดในประเทศลาว ซึ่งดำเนินการอยู่ในนครหลวงเวียงจันทน์ โครงการนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการนำวิธีการ Slurry Seal ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วมาใช้เป็นทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับการบำรุงรักษาถนนทั่วประเทศ โดยต่อยอดจากการทำงานครั้งแรกโดย บริษัท ถนอมวงศ์บริการ จำกัด เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้วบริเวณอนุสาวรีย์ปะตูไซ โครงการในครั้งนี้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 และมีกำหนดแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 เทคนิคนี้เป็นวิธีการแก้ปัญหาสำหรับการปรับปรุงพื้นผิวถนนที่คุ้มค่าต่อการลงทุนงบประมาณ ช่วยยืดอายุการใช้งานถนนด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าวิธีการแบบดั้งเดิม เช่น การปูผิวทางแบบ HMA ทำให้เหมาะสำหรับความต้องการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศลาว และเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 โครงการได้รับผลตอบรับที่ดีจากตัวแทนกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง (PWT) หลังจากการสังเกตการณ์ เรามีความยินดีที่จะนำเสนอการปรับปรุงพื้นผิวถนนนี้สู่ประเทศลาวอีกครั้ง และหวังว่าจะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วประเทศในอนาคต

กิจกรรมอบรมให้ความรู้นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงงานพระประแดง

กิจกรรมอบรมให้ความรู้นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงงานพระประแดง

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 ทางผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีรกานติ์ บรรเจิดกิจ ได้เชิญนางสาวปณิตา สุตะเขตร์ เจ้าหน้าที่พัฒนาความยั่งยืน (โรงงานพระประแดง) เป็นวิทยากรในการให้ความรู้นิสิตชั้นปีที 4 คณะวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในเรื่องของการจัดการขยะมูลฝอยด้วยกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ภายใต้แนวคิด CFO (Carbon Footprint Organization) และการจัดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของบริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน) รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมในการทำงานของนิสิตก่อนจบการศึกษา ซึ่งจากผลการประเมินความพึงพอใจของนิสิตให้ความสนใจในกิจกรรมเป็นอย่างมากและให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่จัดขึ้น

CFO คือ Carbon Footprint Organization หรือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกจากกิจกรรมต่างๆขององค์กร ซึ่งในองค์ประกอบของ CFO มี 3 SCOPE แบ่งเป็น

SCOPE 1: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางตรงขององค์กร (Direct Emissions) จากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรโดยตรง เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องจักร การใช้พาหนะขององค์กร (ที่องค์กรเป็นเจ้าของเอง) การใช้สารเคมีในการบำบัดน้ำเสีย การรั่วซึม/รั่วไหล จากกระบวนการหรือกิจกรรม เป็นต้น

SCOPE 2: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Energy Indirect Emissions) โดยมาจากการซื้อพลังงานมาใช้ในองค์กร ได้แก่ ไฟฟ้า ความร้อน ความเย็น ไอน้ำ อากาศอัด เป็นต้น

SCOPE 3: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือจากที่ระบุใน SCOPE 1 และ 2 เช่น การขนส่งจากผู้ผลิตวัตถุดิบ การเดินทางของพนักงานด้วยพาหนะที่ไม่ใช่ขององค์กร การเดินทางที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขององค์กรที่มีการจ้างเหมาบริการ การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ การใช้งานของผลิตภัณฑ์ การกำจัดซากของผลิตภัณฑ์ ปริมาณขยะ การขนส่งขยะ เป็นต้น