Skip to content

สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน

ความปลอดภัยในการทำงาน คือ ดีเอ็นเอ ของเรา

GRI 403-9, GRI 403-10
ISO 26000 and ISO 45001

แนวทางการดำเนินงาน

การได้รับรองระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (ISO 45001) ของเราสะท้อนถึงศักยภาพของการบริหารจัดการกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรที่อาจส่งผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน การสร้างความตระหนัก การระบุมาตรการป้องกันและการตอบสนองต่อการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และ/หรือ การเกิดโรคระบาดในสถานที่ทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ลดการเกิดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ จากแนวทางการบริหารจัดการและการสร้างความตระหนักดังกล่าว เราสามารถได้ร่วมมือกับชุมชนและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องให้เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมสนับสนุนวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย

นโยบาย : นโยบายการจัดการแบบบูรณาการ

ผู้มีส่วนได้เสีย :

พนักงาน ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ให้บริการ และชุมชน

เป้าหมายระยะสั้น :

  1. การเกิดอุบัติเหตุขั้นเสียชีวิตเป็นศูนย์
  2. อัตราการเกิดอุบัติเหตุขั้นหยุดงานไม่เกิน 0.74 ครั้งต่อหนึ่งล้านชั่วโมงการทำงาน
  3. ความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากโรคจากการทำงานของพนักงานเป็นศูนย์

เป้าหมายระยะยาว :

  1. การเกิดอุบัติเหตุขั้นเสียชีวิตเป็นศูนย์
  2. อัตราการเกิดอุบัติเหตุขั้นหยุดงานของพนักงานเป็นศูนย์ต่อหนึ่งล้านชั่วโมงการทำงาน
  3. ความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากโรคจากการทำงานของพนักงานเป็นศูนย์

ผลการดำเนินงานที่สำคัญประจำปี 2565 :

  • จำนวนการเกิดอุบัติเหตุขั้นเสียชีวิตของพนักงานและผู้รับเหมาเป็นศูนย์
  • อัตราการเกิดอุบัติเหตุขั้นหยุดงานของพนักงานเป็นศูนย์ต่อหนึ่งล้านชั่วโมงการทำงาน
  • ความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากโรคจากการทำงานของพนักงานเป็นศูนย์
  • ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการค้นหาความเสี่ยงจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Actions) สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Conditions) และ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ (Near miss) เพื่อลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุจากปัจจัยที่คล้ายคลึงกัน
  • ส่งเสริมให้พนักงานร่วมกันวิเคราะห์สาเหตุกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ หรือเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ เพื่อกำหนดมาตรการเกิดซ้ำ

บันทึกการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานและผู้รับเหมา

หมายเหตุ : แสดงข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยจากการทำงานของกลุ่มธุรกิจผลิตยางมะตอยประเทศไทย

จำนวนอุบัติเหตุขั้นเสียชีวิต
ของธุรกิจการผลิตยางมะตอยในประเทศไทย

“0”

ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3