Skip to content

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

เราส่งเสริมผลประโยชน์ของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย โดยปฏิบัติตามแนวจรรยาบรรณทางธุรกิจ ที่ธุรกรรมต่างๆของเรามีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

GRI 102-31, GRI 102-18 and GRI 102-28
ISO 26000

แนวทางการดำเนินงาน

  เราให้ความสำคัญกับแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งมีบทบาทสำคัญในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร เรายึดถือปฏิบัติตามกรอบแนวทางที่กำหนดโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการประเมินตาม (1)โครงการสำรวจและติดตามพัฒนาการด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย (2)โครงการประเมฺินคุณภาพการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี และ (3) หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

นโยบาย: นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง :

ผู้ถือหุ้น ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา สื่อ หน่วยงานกำกับดูแล และ พนักงาน

เป้าหมายระยะสั้น :

  1. ผลการประเมินตามโครงการสำรวจและติดตามพัฒนาการด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 5 ดาว
  2. ผลการประเมินโครงการประเมฺินคุณภาพการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีไม่น้อยกว่า 98%

เป้าหมายระยะยาว :

  1. ได้รับการยอมรับในระดับสูงสุด ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามกรอบแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญประจำปี 2565 :

  1. ผลการประเมินตามโครงการสำรวจและติดตามพัฒนาการด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 5 ดาว ติดต่อกันเป็นปีที่ 5
  2. ผลการประเมินโครงการประเมฺินคุณภาพการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีอยู่ที่ 98%
  3. เราได้รับรางวัลการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนจากสถาบันไทยพัฒน์ ประจำปี 2565 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4

สัดส่วนของคณะกรรมการอิสระ

6:12

กรรมการอิสระ : กรรมการทั้งหมด

จำนวนกรรมการที่เป็นผู้หญิง

1

กรรมการที่เป็นผู้หญิง

กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการบริหาร

10

มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรม

ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของกรรมการผู้จัดการใหญ่

ตัวชี้วัดทางการเงิน
ตัวชี้วัดที่ไม่ใช้ทางการเงิน
1. อัตราการเติบโตของรายได้และกำไรสุทธิ
1. การบริหารกลยุทธ์องค์กร
2. กำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหัก
2. ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี
3. ROI, ROA, ROE, Total Shareholders’ Returns
3. การสร้างวัฒนธรรม “นวัตกรรม” ในองค์การ
4. ส่วนแบ่งทางการตลาด
4. ภาพลักษณ์องค์กร